| 

บทความน่ารู้

  • บทความน่ารู้

    เตรียมตัวเป็นวิทยากรอย่างไรให้คนฟังเข้าใจ ???

    การขึ้นพูดเพื่อให้คนฟังตั้งแต่หลักสิบไปจนถึงหลักพันเข้าใจ และมีทัศนคติที่ดีในเรื่องที่อบรม จนกระทั่งผู้เข้าอบรมเองเกิดการเรียนรู้และสามารถสร้างความคิดตามได้ ซึ่งผู้ที่มีหน้าที่ขึ้นพูดนี้เราจะเรียกกันว่า “วิทยากร”  จึงไม่ใช่เรื่อง่ายที่ใครจะทำได้ ต้องอาศัยองค์ประกอบหลายอย่างทั้งการสื่อสาร ฝึกฝน ทักษะ และเทคนิคต่างๆ ฉะนั้นหากต้องการที่จะเป็นวิทยากรที่ดีต้องมีการเตรียมตัววางแผนและเรียนรู้การพูดอย่างไรให้คนเข้าฟังเข้าใจโดยเฉพาะถ้าต้องพูดแนววิชาการ ด้วยคุณสมบัติเหล่านี้คะ หมั่นศึกษาหาความรู้ และประสบการณ์อยู่ตลอดเวลา ทั้งจากการไปฟังบทความวิชาการ อ่านหนังสือ หรือการไปเข้าร่วมอบรมสัมนาพูดคุยกับผู้มีความรู้มากกว่า เพื่อจะเป็นการช่วยเพิ่มความรู้ให้กับตนเองมากขึ้นกว่าเดิม และไม่เพียงหาความรู้เพิ่มเติมควรที่จะลองหาประสบการณ์หรือทดสอบความรู้ที่ได้มาจะได้ไปบอกต่อได้อย่างมั่นใจ ฝึกสะสม จดจำข้อมูล วิทยากรที่มีประสิทธิภาพเมื่อไปเข้ารับการอบรม หรือพบเจอสิ่งใหม่ๆ ก็ควรจะจดบันทึกเก็บสะสมข้อมูลที่มีประโยชน์เหล่านั้นไว้ พยายามจัดเก็บให้เป็นระบบ มีการเข้าแฟ้มเป็นหมวดหมู่ เช่น หมวดวิชาการ หมวดสันทนาการ ฝึกการนำเสนออย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นเวทีเล็กหรือเวทีใหญ่ ต้องไม่ปฎิเสธที่จะขึ้นพูด เพราะนักวิทยากรที่ต้องการเป็นมืออาชีพ ควรใช้โอกาสนี้ในการฝึกพูดบ่อยๆ ฝึกการนำเสนอ นอกจากนั้นยังช่วยสร้างความมั่นใจได้เป็นอย่างดีอีกด้วย วางแผนรูปแบบหลักสูตรให้มีความแปลกใหม่ๆ ไม่ควรบรรยายด้วยหลักสูตรเดิมๆซ้ำๆ เพราะวิทยากรมืออาชีพจะต้องไม่พูดหลักสูตรที่เหมือนกับวิทยากรท่านอื่น การที่ต้องนำเสนอหลักสูตรที่คล้ายๆกัน แน่นอนว่าย่อมมีคู่แข่งมากขึ้นโอกาสที่จะได้บรรยายก็น้อยลงเช่นกัน ทำการบ้านก่อนล่วงหน้า เมื่อได้รับงานบรรยายมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับวิชาการ หรือเรื่องเทคนิคความรู้ต่างๆ วิทยากรที่ดีต้องมีการเตรียมข้อมูลนำเสนอที่ตรงกับความต้องการขององค์กรนั้น ควรสอบถามเสียก่อนว่าสิ่งที่องค์กรต้องการคืออะไร อยากให้เน้นพูดเรื่องไหนเป็นพิเศษ รวมทั้งอย่าลืมสอบถามห้องอบรมด้วยว่ามีขนาดเล็กหรือว่าใหญ่ เพื่อจะได้ออกแบบกิจกรรมหากต้องการให้ผู้เข้าฟังได้ทดลองปฎิบัติ ข้อสุดท้ายคือการเตรียมความพร้อมของร่างกาย เพราะบางหลักสูตรวิทยากรต้องใช้เวลาการอบรม 3-5 วันติดต่อกันถึงวันละ 8…

    Read More
  • บทความน่ารู้

    “กาลิเลโอ กาลิเลเลอี” กับผลงานอันโด่งดัง

    นับตั้งแต่โลกใบนี้ถือกำเนิดขึ้นมาเราก็มีบุคคลที่ทำคุณประโยชน์มากมาย สร้างสรรค์ผลงานที่ล้วนแล้วแต่น่าทึ่ง ไม่ว่าจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ นักประพันธ์ หลายท่านยังคิดค้นทฤษฎีใหม่ๆขึ้นมา บางท่านเป็นทั้งนักวิทยาศาตร์และนักประดิษฐ์ซึ่งในที่นี้คงเป็นใครไปไม่ได้ นอกเสียจาก “กาลิเลโอ กาลิเลอี” “กาลิเลโอ กาลิเลอี” เกิดเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1564  ณ.เมืองปิซา ประเทศอิตาลี เขากำเนิดขึ้นมาในครอบครัวที่บิดามีความชำนาญในทางคณิตศาสตร์ และสายดนตรีเป็นอย่างมาก หลังจากที่เขากำเนิดได้ไม่นานครอบครัวของเขาก็ย้ายจากเมืองปิซาไปอยู่ยังเมืองฟลอเรนซ์ ตลอดช่วงระยะเวลาที่เขาเติบโตก็ฉายแววความฉลาดออกมาให้เห็น บิดาประสงค์อยากให้เขาเรียนทางด้านแพทย์แต่ตัวเขาเองให้ความสนใจทางด้านนี้น้อยมากเมื่อเทียบกับวิทยาศาสตร์ที่มักจะตื่นเต้นทุกครั้งที่ถึงชั่วโมงเรียน อย่างไรก็ดี “กาลิเลโอ กาลิเลอี” ยังได้พิสูจน์ทฤษฎีที่ว่าวัตถุ 2 ชิ้นที่มีน้ำหนักต่างกัน แต่สามารถตกถึงพื้นได้พร้อมกัน สาเหตุมาจากวัตถุทั้ง 2 ตกด้วยความเร็วเท่ากัน ซึ่งกลายเป็นทฤษฎีที่ไปขัดแย้งกับความเชื่อที่อริสโตเติลเคยกล่าวไว้ที่ว่าวัตถุมีน้ำหนักเบาจะตกกระทบถึงพื้นได้ช้ากว่าวัตถุที่มีน้ำหนักมาก ส่งผลให้ประชาชนที่อยู่ในยุคสมัยนั้นรู้สึกคัดค้านและไม่พอใจที่ถูกพิสูจน์ว่าความเชื่อของตนนั้นผิดมาตลอด และในปีค.ศ. 1593 เขาถูกให้ออกจากมหาวิทยาลัยที่เขาสอนอยู่ ในวาระสุดท้ายของชีวิตกาลิเลโอเริ่มเก็บตัวอยู่แต่ในบ้าน ตัดขาดจากชีวิตภายนอก แต่เขาก็ไม่ทิ้งงานสอนลูกศิษย์รวมทั้งทำงานวิจัย ประดิษฐ์เครื่องมือใหม่ๆ และแต่งตำราเกี่ยวกับกฎการเคลื่อนที่-เคลื่อนกล กาลิเลโอได้ค้นคว้า คอยเฝ้ามองการเคลื่อนไหวของดวงดาวแต่ละดวงบนท้องฟ้า รวมถึงดวงจันทร์ ที่เขาใช้เวลาเฝ้ามองถึงพบว่า ดวงจันทร์ใช้เวลา 15 วัน ในการโคจรรอบโลก ซึ่งนับว่าเป็นผลงานชิ้นสุดท้ายของเขา เพราะหลังจากนั้นเค้าก็ตาบอดสุขภาพแย่ลงเรื่อยๆสุดท้ายเสียชีวิตในวันที่ 8 มกราคม ค.ศ.1642…

    Read More
  • บทความน่ารู้

    ความแตกต่างของการเรียนการสอนระหว่างไทยกับต่างประเทศ

    สิ่งที่จะช่วยขับเคลื่อนประเทศให้พัฒนาเจริญก้าวหน้าไปได้ก็คือเรื่องของการศึกษา ในแต่ละประเทศจึงมีการจัดรูปแบบการศึกษาให้เหมาะสมกับลักษณะของประชากรในประเทศ ดังนั้นหากใครที่กำลังเตรียมตัวไปเรียนต่อต่างประเทศจึงควรเรียนรู้ข้อแตกต่างเหล่านี้ไว้บ้างคะ จำนวนนักเรียนในแต่ละห้องมีความแตกต่างกัน ในประเทศไทยแต่ละชั้นเรียนมีปริมาณค่อนข้างเยอะ ทำให้ห้องเรียนห้องนึงมีนักเรียนไม่ต่ำกว่า 40 คน/ห้อง มองดูแล้วก็เหมือนกับมีเพื่อนร่วมรุ่นมากมาย สนุกสนาน แต่ข้อเสียก็คือนักเรียนบางคนอาจจะเรียนไม่เข้าใจ ในขณะเดียวกันถ้าเป็นไฮสคูลเมืองนอกจะมีนักเรียนต่อห้องไม่กิน 20 คน เพื่อที่อาจารย์จะได้มีโอกาสดูแลนักเรียนได้อย่างทั่วถึง กิจกรรมของชมรมเลือกเสรี ถึงแม้โรงเรียนในประเทศไทยจะมีชั่วโมงชมรมให้นักเรียนเลือกเข้าได้อย่างเสรี แต่ก็เป็นไปในลักษณะขำๆคือไม่จริงจังเสียเท่าไหร่ การเข้าชมรมก็เหมือนเป็นการเข้าไปเพื่อให้ครบตามหลักสูตรเท่านั้น สัปดาห์หนึ่งมีนัดสมาชิกให้เข้ามาคุยกันแค่วันสองวัน ส่วนไฮสคูลเมืองนอกนักเรียนจะต้องเข้าร่วมเป็นสมาชิกของชมรมอย่างจริงจัง ทุกคนจะต้องเข้าร่วมชมรมทุกวันหลังเลิกเรียน อีกทั้งยังมีการจัดประกวดระหว่างโรงเรียนด้วย วิชาพละศึกษา ระบบการศึกษาของประเทศไทยวิชาพละศึกษาถือว่าเป็นวิชาหลักที่ต้องเรียนให้ครบตามหลักสูตรด้วยการแบ่งการเรียนเป็นระดับชั้นที่ต้องเรียนเหมือนกัน เช่น ม.1 เรียนปิงปอง ม.2 เรียนกระบี่กระบอง เป็นต้น แต่ที่ต่างประเทศเขาจะแบ่งออกเป็นฤดู (อาจเป็นเพราะว่าบ้านเขามีหลายฤดูกาล) อาทิเช่น ในฤดูใบไม้ร่วงจะเรียนฮอกกี้ ว่ายน้ำ และวอลเลย์บอล ส่วนฤดูหนาวจะเรียนแบดมินตัน บาสเกตบอล พอถึงฤดูใบไม้ผลิก็จะเป็นเทนนิส ฟุตบอล วิชาเลือกเสริม ในบ้านเราวิชาที่จะให้นักเรียนเลือกเรียนเสริมมีค่อนข้างน้อย แล้วส่วนมากก็จะเป็นการนำวิชามาเสริมกับวิชาหลัก เช่น หากว่าวิชาหลักเรียนภาษาอังกฤษ วิชาเสริมก็จะเป็นประเภทอังกฤษธุรกิจ หรืออังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว เป็นต้น แต่ถ้าเป็นเมืองนอกวิชาเลือกที่ทางโรงเรียนนำมาให้นักเรียนเลือกจะเป็นที่จิงจัง เป็นวิชาที่เสริมขึ้นมาเพื่อให้นักเรียนได้เรียนนอกเหนือจากวิชาการ ซึ่งบางวิชาไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นวิชาเรียนของระดับไฮสคูล นึกว่าเป็นวิชาในมหาวิทยาลัยหรือวิชาชีพ เช่น กราฟฟิกดีไซน์…

    Read More

ผู้สนับสนุนหลัก